วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติ ส่วนตัว 
                    




              ชื่อ :  นายยงยุทธ   ศิริสำราญ
               
               ชื่อเล่น : แม็ก อีกชื่อ ( แฮมเบอร์เกอร์ ) 
               
               อายุ : 18 ปี

               วัน/เดือน/ปี เกิด : 18 กันยายน 2539

               กรุ๊ปเลือด : A

               สัญชาติ : ไทย

               เชื้อชาติ : ไทย
               
               ศาสนา : พุทธ

               ที่อยู่ : 163 หมู่  7  บ. ระกา  ต. บ้านปรือ อ. กระสัง จ. บุรีรัมย์
                                  
                                  31160

               ครูที่ปรึกษา : 1. ครู อิสรีย์   วงคง

                                     2. ครู ศุภาพิชญ์   นะรารัมย์               
               
               อาชีพในฝัน : ตำรวจ

               การศึกษา : กำลังศึกษาที่โรงเรียนกระสังพิทยาคมชั้นมัธยมศึกษาปี 6/2

              มหาวิทยาลัยที่อยากเรียนต่อ : มหาวิทยาลัยสารคาม

               วิชาที่ชอบ : คอมพิวเตอร์หรือการงานอาชีพ

               วิชาที่ไม่ชอบ : เคมี

               อาหารที่ชอบ : กุ้งเผา

               สีที่ชอบ :  สีเขียว
     
               สัตว์ที่ชอบ : แมว

               เพลงที่ชอบ : ทุกความทรงจำ

               งานอดิเรก :   ล้างรถ  ดูหนัง 

               เพื่อนสนิท :  แก๊ง (ฝูง ขนมหวานทุกคน ) ม.6/2

               คติประจำใจ : เส้นทาง ยังอีกยาวไกล้ ถ้าหาเงินค่ารถได้ไปต่อ!!
               
               อีเมล : Yongyut_raka@hotmail.com

              โทรศัพท์ : 093-095-0208

                                               


      แผนที่บ้าน







วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผักกาดหัว


สูตรอาหารไทย : แกงจืดหัวไชเท้า

ราคา สินค้าจานล่ะ  40 บาท อิ่มจุใจ เลยทีเดียว!!


รับประกัน จากเชฟ Max



[ SOUP WITH RADISH AND MINCED PORK ]
     เครื่องปรุง + ส่วนผสม
สูตรอาหารไทย : แกงจืดหัวไชเท้า
* หมูสับ 350 กรัม   
* หัวไชเท้า 1 หัว                     
* แครอท 1/2 ถ้วย
* เห็ดหอมแช่น้ำ   6 ดอก
* ซิอิ๊วขาว 5 ช้อนโต๊ะ
* น้ำปลา 2 ช้อนชา               
* น้ำตาล 2 ช้อนชา (1  ช้อนชาสำหรับหมักหมู)
* น้ำซุป  6 ถ้วย  
* พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
* คื้นฉ่าย 2 ต้น
* ผักชี 2 ต้น
* ต้นหอม 2 ต้น
* กระเทียมเจียว 3 ช้อนโต๊ะ
* เกลือป่น 1 ช้อนชา

สูตรอาหารไทย : หัวไชเท้า
สูตรอาหารไทย : แกงจืดหัวไชเท้า
     วิธีทำทีละขั้นตอน
1. หมักหมูสับกับน้ำปลา พริกไทยป่น และน้ำตาล ทิ้งไว้ 15 นาที จึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลม พักไว้
2. ล้างทำความสะอาดหัวไชเท้าและแครอท หั่นเป็นชิ้น โดยหั่นหัวไชเท้าหนาหน่อย
3. ล้างผักชี คึ่นฉ่ายและต้นหอม เด็ดเป็นใบๆ
4. ตั้งน้ำซุปในหม้อบนไฟร้อนปานกลาง รอจนน้ำซุปเดือด ใส่หมูสับที่ปั้นเตรียมไว้ลงไป รอจนสุกจึงใส่หัวไชเท้า เห็ดหอม และแครอท ต้มจนทุกอย่างสุกดี
5. ปรุงรสด้วย เกลือ ซิอิ๊ว และน้ำตาล คนให้ทุกอย่างเข้ากันดี จึงปิดไฟ ใส่คึ้นฉ่าย ต้นหอมและผักชีลงไป คนให้เข้ากัน ยกลงจากเตา
6. ตักแกงจืดลงในถ้วย โรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว และพริกไทยป่นนิดหน่อย เสิรฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อนๆ

หมายเหตุ : กรณีนำเนื้อหาของเวป EzyThaiCooking.com ไปใช้ในเวปของท่าน กรุณาใส่เครดิตให้เวปของเราด้วย





    วิดีโอ การทำแกงจืด



  


ต้มจืดหัวไชเท้า+หัวเทอร์นีฟ ใส่กระดูกหมู

เมื่อวันก่อนอัพบล็อกด้วย น้ำพริกกะปิแมงดา ไปแล้ว เว้นไปหนึ่งวัน เราก็ตำน้ำพริกกินกันวงใหญ่ อีกแล้ว และเมนูที่ทานพร้อมกับน้ำพริก ก็คือ ต้มจืด??????? ที่เอาไว้ซดร้อน ๆ ให้คล่องคอ



เราทำต้มจืดหัวไชเท้า + หัวเทอร์นีฟ ใส่กระดูกหมู เหตุที่ผสมกัน เพราะหัวเทอร์นีฟ เรามีน้อย ได้มาไม่รู้จักว่าหัวอะไร ไปตั้งคำถามที่ห้องก้นครัว ก็ได้คำตอบมาเรียบร้อย ตอนนี้จำได้แม่นเลยคะ




ส่วนหนึ่งเอาไปต้มทำน้ำซุป ของก๋วยจั๊บญวนที่ลงวิธีทำแล้ว ที่เหลือก็แช่ตู้เย็นไว้จนมีต้นกับรากงอกออกมาบ้างแล้ว แบ่งที่มีรากกับต้นไว้ สองหัว กะจะลองปลูกในกระถางดู เหลือน้อยเลยเอาหัวไชเท้าใส่เพิ่ม ของเราทำแบบง่าย ๆ สไตล์เด็กหอ ที่ไม่เคยอยู่หอ วันนี้ไม่ได้ใช้หม้อหุงข้าวต้ม แต่ใช้เตาไฟฟ้า กับหม้อธรรมดาแทนคะ

ถ้าใครติดตามบล็อกของแม่ใบตอง จะเห็นว่าขั้นตอนการทำอาหารส่วนใหญ่เป็นแบบง่าย ๆ ไม่มีลีลาอะไร เน้นสะดวก และพลิกแพลง ใช้ของที่มีอยู่ในตู้เย็น เพื่อไม่ให้ของเสียหรือตกค้างนาน บางทีบางอย่างก็เก็บเอาจากสวนครัวเล็ก ๆ จับโน่นนี่ผสมกัน ก็ได้อาหารอร่อย หลาย ๆ จานแล้ว




ส่วนผสม ได้สองชามใหญ่ ๆ

หัวไชเท้า 1 หัว
หัวเทอร์นีฟ 6 หัว
กระดูกหมู 1 เส้นยาว
กุ้งแห้งอย่างดี 15 ตัว
ต้นหอม 3 ต้น
ตั้งฉ่าย 1 ช้อนชา
กระเทียม 7 กลีบ
รากผักชี 1-2 ราก
พริกไทยเม็ด 10 เม็ด
คนอร์ 1 ก้อน
เกลือ 1 ช้อนชา
ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า 1 ลิตร



วิธีทำ

ปอกเปลือก หัวไชเท้า กับหัวเทอร์นีฟ หั่นเป็นชิ้นพอคำ นำไปล้างให้สะอาด (ในภาพมีหัวไชเท้า 2 หัว แต่ต้มไปแค่หัวเดียว ส่วนหัวเทอร์นีฟ 6 หัว ต้มทั้งหมดตามภาพคะ )





กระดูกหมู สับเป็นชิ้น ล้างให้สะอาดอีกครั้ง
เครื่องปรุงอื่น ๆ เช่น รากผักชี กระเทียม กุ้งแห้ง ก็ล้างให้สะอาดเช่นกัน




ถ้ามีปลาหมึกแห้ง ก็หั่นเป็นเส้น ๆ หนาประมาณครึ่ง ซม. รอไว้ใส่ด้วย แต่ของเราไม่มี ตอนแรกกะจะซื้อแบบที่เค้าติดแผงขาย ถุงละ 5 บาท มีสองตัว แต่ลืมซื้อมา เดินตลาดบางรักตอนเช้า เห็นมีขาย เป็นโล ละ 240 บาท ก็ขีดละ 24 บาท โห...ถ้าซื้อตั้งขีด ก็ลงทุนเยอะไป ใช้นิดเดียวเอง เหลืออีก ไม่เอาดีกว่า ไม่ต้องใส่ก็ได้


นำน้ำเปล่าใส่หม้อ ตั้งไฟ ใส่กระเทียม รากผักชี พริกไทยเม็ด คนอร์ เกลือ กระดูกหมู ลงไปทีเดียวเลย





เราเน้นสะดวก บางคนเค้ารอให้น้ำเดือด ก่อนจึงใส่กระดูกหมู อย่างนั้นก็ได้ บางที่เราก็ทำแบบนั้น แล้วแต่อารมณ์จะพาไป ฮิฮิ
ปิดฝาหม้อ เพื่อให้เดือดอย่างรวดเร็ว ตอนจะเดือด ต้องคอยเปิดฝาดู อย่าให้เดือดพล่านจนช้อนฟองดำ ๆ ไม่ทัน เดียวน้ำซุปขุ่น ไม่น่าทาน พอเดือดก็ค่อย ๆ ช้อนฟองดำ ๆ ออกไปจน น้ำซุปใส

ใส่หัวไชเท้า กับหัวเทอร์นีฟลงไป ต้มต่อให้เดือด ด้วยไฟอ่อน สักพัก เราก็ใส่ตั้งฉ่าย กับกุ้งแห้งลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ จนกระดูกหมูเปื่อย นุ่ม




ใส่ซอสปรุงรสเพิ่มความหอม และกลมกล่อม ชิมรสชาติตามต้องการ




สุดท้ายก่อนปิดไฟ ใส่ต้นหอมลงไป





นี่คะ ต้มจืดหัวไชเท้า กับหัวเทอร์นีฟ ร้อน ๆ ซดคล่องคอ พี่ที่ทำงานเค้าบอก ไม่มีกลิ่นหัวไชเท้าเลย เค้าบอกปกติ ต้มจืดแบบนี้ จะได้กลิ่นหัวไชเท้าแรง เราก็ไม่รู้เหมือนกัน???????????








รสชาติของหัวไชเท้า กับหัวเทอร์นีฟ ไม่ได้แตกต่างกันเลย อร่อยเหมือนกันทั้งคู่ คะ

อ้างอิง

     1.  http://www.ezythaicooking.com/free_recipes/soup_with_radish
          _and_minced_pork_th.html

    2.   http://www.bloggang.com/mainblog.php?      id=baanbaitong&month=28-07-2011&group=20&gblog=10

    3.  http://pantip.com/topic/30024443

   4.  https://www.facebook.com/jibiblbfycjh/posts/467531146670839
    
   5. http://www.thai-thaifood.com/thai/t275-.html



วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน



กล้วย

กล้วย-สมุนไพรไทย

ชื่อทั่วไป                รวมถึง กล้วยน้ำว้า,กล้วยตีบ,กล้วยไข่,กล้วยหอม,กล้วยป่า,กล้วยครก
ชื่อสามัญ               Banana
ชื่อวิทยาศาสตร์      Musa sapientum Linn., paradisaca Linn.
วงศ์                       MUSACEAE

            เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นแผ่นยาวเส้นใบขนานกัน ดอกเป็นช่อดเรียกหัวปลี ผลเป็นหวีติดตอกันเป็นเครือ ต้นหนึ่งๆจะออกผลครั้งเดียวแล้วตายไป ปลูกได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อน ขยายพันธุ์โดยแยกหน่อ กล้วยป่าบางชนิดไม่มีหน่อต้องใช้เมล็ดกล้วยป่าส่วนใหญ่มีเมล็ดมาก
ต้นกล้วย สามารถนำมาเป็นยาสมุนไพรได้ทั้งต้น


สรรพคุณสมุนไพร

ยาง                      รสฝาด สมานแผล ห้ามเลือด
ผลดิบ                  รสฝาด ทั้งเปลือก หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ชงน้ำร้อนหรือปั้นเม็ดรับประทาน รักษา
                           แผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งทำให้อาหารไม่ย่อย ผงกล้วยดิบทั้ง
                           เปลือก ใช้โรยรักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ
ผลสุก                  รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
                           เปลือกลูกดิบ  รสฝาด สมานแผล เปลือกกล้วยหอมสุก เอาด้านในทาแก้เส้นเท้าแตก
หัวปลี                  รสฝาด แก้โรคกระเพาะอาหารลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเลือด รักษา
                           โรคเบาหวาน
น้ำคั้นจากหัวปลี    รับประทาน แก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิต
ใบ                       รสเย็นจืด ปิ้งไฟปิดแผลไฟไหม้ ต้มอาบแก้เม็ดผด ผื่นคัน
ราก                     รสฝาดเย็นต้มดื่ม แก้ไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ท้องเสีย แก้บิด แก้ผื่นคัน สมานภายใน
หยวก                   รสฝาดเย็น เผาไฟรับประทาน ขับพยาธิ
เหง้า                    รสฝาดเย็น ปรุงยาแก้ริดสีดวงทวาร ชนิดมีเลือดออก หรือแผลภายในซ่องทวาร

ลูกกล้วย-Banana

วิดีโอของต้นกล้วย น้ำว้า ครับ!!





กล้วยน้ำว้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้วยน้ำว้า
Bananas dsc07803.jpg
ลูกผสม
Musa acuminata × Musa balbisiana
กลุ่มพันธุ์ปลูก
ABB Group[1]
พันธุ์ปลูก
กล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด
กล้วยน้ำว้ามีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ หรือ กล้วยอ่อง เดิมจัดเป็นชนิด Musa sapientum L.

คุณค่าทางอาหารและยา

กล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย

อ้างอิง

  1. กระโดดขึ้น กรมส่งเสริมการเกษตร
  2. กระโดดขึ้น พันธุ์กล้วยในประเทศไทย, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30
  3. กระโดดขึ้น เต็ม สมิตินันทน์  สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549

แหล่งข้อมูลอื่น





กล้วยน้ำว้า สรรพคุณ ประโยชน์ บำรุงร่างกายและดูแลสุขภาพ 

กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้ไทยๆ ที่มีมาแต่โบราณเป็นภูมิปัญญาไทยมีแค่ประเทศไทยประเทศเดียว คนไทยทุกคนเกิดมาก็ต้องรู้จักกล้วยน้ำว้าเป็นอย่างดี
กล้วยน้ำว้า ถึงจะเป็นผลไม้ ที่ไม่น่าจะให้พลังงานได้เยอะ แต่เชื่อหรือไม่ว่า กล้วยเป็นแหล่งพลังงานสำรองชั้นดี ในกล้วย 1 ผล สามารถให้พลังงานได้ร่วม 100 แคลอรี่ มีน้ำตาลธรรมชาติอยู่ 3 ชนิด ทั้ง ซูโครส ฟรุคโทส และกลูโครส รวมไปถึงเส้นใยและกากอาหาร และอุดมด้วย วิตามินบี 6 ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน แถมแร่ธาตุอย่างแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ที่ช่วยป้องกันโรคความดันอีก

ในบรรดากล้วยทั้งหมด กล้วยน้ำว้าให้แคลเวียมสูงสุด นอกจากนั้นก็ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 ซี และไนอะซิน (บี 6) ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน แต่ที่ทำให้กล้วยน้ำว้า มีคุณค่าสารอาหารที่พิเศษกว่ากล้วยชนิดอื่น นั่นก็คือ โปรตีนที่อยู่ในกล้วยน้ำว้า มีกรดอะมิโน อาร์จินิน และฮีสติดิน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก ถึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมตอนเด็ก ๆ ผู้ใหญ่ถึงให้เรากินกล้วยบด เพราะอุดมด้วยสารอาหาร และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายเรานั่นเอง

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้าช่วยป้องกันโรค
1.กล้วยน้ำว้า ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ รับประทานวันละ 5 - 6 ผล จะช่วยให้อาการคะคายเคืองลดน้อยลง
2. กล้วยน้ำว้า ยังช่วยระงับกลิ่นปากได้ วิธีการก็คือ รับประทานกล้วยน้ำว้าหลังตื่นนอนทันที แล้วค่อยแปรงฟัน 
จะช่วยลดกลิ่นปากได้มาก
3..กล้วยน้ำว้ายังสามารถรักษาโรคกระเพาะ เพราะในกล้วยน้ำว้ามีสารแทนนินอยู่มาก จึงสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรงได้

4.กล้วยน้ำว้า แก้ท้องผูก ก็สามารถแก้ท้องเดินหรือท้องเสียได้

จะเห็นได้ว่ากล้วยน้ำว่ามีประโยชน์มากมาย กล้วยน้ำว้าหารับประทานได้ไม่ยาก  ราคาของกล้วยน้ำว้า ก็ไม่แพงเมื่อเทียบกับผลไม้อื่น หากได้รับประทานกล้วยน้ำว้า เพียงวันละ ลูก ก็จะทำให้เราห่างไกลหมอได้พอสมควร หากได้รับประทานกล้วยน้ำว้า เพียงวันละ 5-6 ลูก ก็จะทำให้เราห่างไกลหมอได้พอสมควร  

 เกร็ดความรู้ นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้า ยังมีแคลเซียมสูงและดูดซึมได้เร็ว 5-6 เท่า เมื่อถูกความร้อนโ ดยเฉพาะ กล้วยบวชชีและกล้วยปิ้ง


    นำมาแปรรูปเป็น 
                                           กล้วยทอด 


กล้วยฉาบ


    
อ้างอิง

อ้างอิง

  1. กระโดดขึ้นกล้วยน้ำว้า กรมส่งเสริมการเกษตร
  2. กระโดดขึ้น พันธุ์กล้วยในประเทศไทย, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30
  3. กระโดดขึ้น เต็ม สมิตินันทน์  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้
  4. th.wikipediai.org/wiki/กล้วย
  5. http://frynn.com/กล้วย/
  6. http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/musa.html